การดูแล ถังดักไขมัน ในร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่ต้องมีการทำขนมเบเกอรี่ ต้องใช้แป้ง และอื่นๆ ที่มีไขมันสูง สิ่งเหล่านี้เมื่อเป็นส่วนเกินจะถูกทิ้งลงใน ถังขยะ หรือ การล้างภาชนะแล้วมาลงในส่วนของ ถังดักไขมัน และถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ เป็นตัวบำบัดย่อยสลาย
การดูแล ถังดักไขมัน จึงมีวิธีดูแลเบื้องต้นดังนี้
- กวาดเศษอาหารชิ้นใหญ่ ชิ้นเล็ก ที่ติดอยู่ในจานลงถังขยะก่อน ไม่ต้องรอให้เศษเหล่านี้ลงไปในซิ้งค์อ่างล้างจาน
- เพราะเศษอาหารชิ้นใหญ่จะลงที่อ่าง แล้วไหลไปที่ ถังดักไขมัน ถ้ามีปริมาณมากๆ ถังดักไขมันก็จะเต็ม แล้วเศษอาหารชิ้นใหญ่ก็จะไหลหลุดออกไป ถึงถังบำบัดน้ำเสีย
- ซึ่งไขมันหนักๆเหล่านี้เมื่อตกมาในส่วนของถังแคปซูลซึ่งเป็นถังบำบัดขนาดใหญ่ จะทำให้การย่อยสลายกากไขมันเป็นเรื่องค่อนข้างลำบาก
- บางโครงการอาจจะต้องใช้ เอนไซม์ย่อยไขมันช่วย นอกเหนือจากหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาบำบัดของเสียจาการขับถ่าย
- เพราะประสิทธิภาพของเอนไซน์ จะย่อยไขมันได้ดีกว่าจุลินทรีย์แบบผงที่บริษัทแถมให้ถุงละ 1 กิโลกรัม
- ควรตักเศษอาหารและไขมันออกจาก ถังดักไขมันใต้ซิ้งค์ หรือ ถังดักไขมันฝังใต้ดิน ทุกวัน
- เพราะจะช่วยในเรื่องของไขมันเต็มเร็ว การดูแลทุกวันจะลดกากไขมันได้ ลดการที่ไขมันจะไปเคลือบบนผิว ลูกมีเดีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของหัวเชื้อจุลินทรีย์เอมไซม
- การดูแลทุกวัน ลดการอุดตันของไขมัน ที่จะสะสมและไปอุดท่อเติมอากาศของตัวถังบำบัด
- เมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องทุกวัน ตามที่เปิดร้านบริการทุกวัน ก็ต้องมีการดูแลแบบรายปีด้วยคือ มีการจ้างรถดูดกากตะกอน มาดูดทุก 6 เดือนครั้ง หรือ ปีละครั้ง ขึ้นอยู่กับปริมาณกากที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ
- เมื่อรถดูดส้วมมาดูดตะกอนเสร็จ ถ้าให้ดีควรมีทีมงาน ฉีดล้างไขมันภายในถังและลูกมีเดียเพื่อให้ไขมันที่เกาะหลุดออก และทำการดูดไปกำจัดอีกครั้ง
- พร้อมกับเติมน้ำสะอาดไปในถังระหว่างดูด ระวังอย่าดูดน้ำออกหมด ควรมีน้ำอยู่ภายในถังประมาณ 70% จาก 100% เพื่อให้น้ำเป็นตัวต้านแรงดันดินที่บีบเข้ามากระทำกับตัวถัง
- เพราะหากดูดน้ำเกลี้ยงถัง ถังจะแตกได้เพราะเมื่อเป็นถังเปล่าแล้ว ภายในเหลือแต่อากาศ ทำให้เกิดแรงดันจากรอบๆถังซึ่งเป็นดินและแรงกดจากคอนกรีตบนบ่าถัง ถูกบีบอัดมารอบข้างและด้านบน เสี่ยงที่ถังจะยุบตัวแตกเสียหายได้